มะเร็งหลอดอาหาร


ความร้ายแรง
   มะเร็งหลอดอาหารพบได้ไม่บ่อยนัก แต่มักมีความรุนแรง เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้กระจายได้เร็ว และเป็นวงกว้าง ทําให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ใน ระยะลุกลาม การรักษาให้หายขาดจึงทําได้ยาก

สาเหตุสําคัญ
   พบปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญได้แก่ เชื้อชาติ (อุบัติการณ์จะสูงกว่าใน ชาวอิหร่าน โซเวียตและจีน), สุรา, บุหรี่, อาหารบางชนิด, โรคหลอดอาหารบางชนิด เช่น อะคาลาเชีย (ภาวะหูรูดหลอดอาหารไม่คลายตัว)

อาการสําคัญที่ผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์
   อาการ กลืนลําบาก พบได้มากที่สุด ประมาณ 90% นอกจากนี้ มักพบว่ามี น้ําหนักลด อาเจียน เจ็บเวลากลืน ถ้ามี อาการเสียงแหบ หรือสําลัก แสดงว่ามีอาการลุกลามค่อนข้างมากแล้ว ดังนั้น ถ้ามี อาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง

การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคและหาระยะของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
   มักเริ่ม ด้วยการซักประวัติ อาการ อาการแสดง รวมถึง การตรวจร่างกาย จากนั้นจะทําการ ส่องกล้องหลอดอาหารเพื่อนําชิ้นเนื้อมาตรวจ ต่อมาทําเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เพื่อประเมินระยะของโรค

หลักการรักษา
   การผ่าตัดเป็นการผ่าตัดเอาหลอดอาหารส่วนที่เป็นมะเร็งออก ไป มักทําในรายที่ยังมีการลุกลามไม่มาก การผ่าตัดนี้ต้องอาศัยความชํานาญในการ ผ่าตัดมาก ถือเป็นการผ่าตัดใหญ่เพราะมีการผ่าตัดเข้าทรวงอก ช่องท้องและคอ สําหรับผู้ป่วยที่อยู่ระยะลุกลาม มักให้ฉายแสงร่วมกับเคมีบําบัด (chemoradiation) ซึ่งปัจจุบัน มีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากผลการรักษาดีขึ้นมาก และกําลังจะเป็นการ รักษาหลักในอนาคต ในรายที่ไม่สามารถผ่าตัดหรือให้ chemoradiation ได้มักใส่ลวด ขยาย (stent) เพื่อให้ผู้ป่วยกินอาหารได้ ทําให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ความรู้ที่สําคัญ
   เมื่อผู้ป่วยมีอาการกลืนลําบาก ควรรีบมากพบแพทย์และ ทําการตรวจด้วยการส่องกล้อง การตรวจพบในระยะแรกเริ่มเป็นปัจจัยสําคัญในการ รักษามะเร็งหลอดอาหาร



รศ.ดร.นพ.อัษฎา เมธเศรษฐ
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

สถานวิทยามะเร็งศิริราช

อาคารเฉลิมพระเกียรติชั้น 13 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700