มะเร็งตับ


โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย เป็นสาเหตุการตาย อันดับหนึ่งของผู้ป่วยชายไทย

โรคมะเร็งตับ มี 2 ประเภท

  1. โรคมะเร็งตับปฐมภูมิ คือ มะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อของตับเอง แบ่งได้ หลายชนิดตามชนิดของเนื้อเยื้อ ต้นกําเนิดมะเร็งตับปฐมภูมิที่พบบ่อยในประเทศไทย
    1.1 มะเร็งจากเชลล์ตับ (Hepatocellularcarcinoma)
    1.2 มะเร็งจากท่อน้ําดีในตับ (Cholangiocarcinoma)
  2. โรคมะเร็งตับทุติยภูมิ คือ มะเร็งที่กระจายจากอวัยวะอื่นไปสู่ตับ

มะเร็งจากเซลล์ตับ (Hepatocellular carcinoma)

   ปัจจัยเสี่ยง

   - ภาวะตับแข็งจากทุกๆ สาเหตุ
   - โรคตับอักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบบีและซี
   - สารพิษที่พบปนเปื้อนจากเชื้อราในอาหารอบแห้ง (Aflatoxin) เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด กระเทียม ฯลฯ

   อาการ และ อาการแสดง

   - ในระยะแรกของโรคมักไม่มีอาการ หรือ อาการแสดงใดๆ
   - อาการจุกแน่นลิ้นปี หรือ ชายโครงขวา เบื่ออาหาร น้ําหนักลด และมีไข้ โดยไม่มีสาเหตุอื่น
   - คลําได้ก้อนใต้ชายโครงขวา
   - เนื่องจากมะเร็งเซลล์ตับมักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง ผู้ป่วยจึงมักมี อาการ และอาการแสดงของภาวะตับแข็งด้วย เช่น ตาเหลือง บวม ท้องมาน อาเจียนเป็นเลือด

   การวินิจฉัย
   - ตรวจเลือดพบความผิดปกติของการทํางานของตับ และอาจพบระดับอัลฟาฟี โตโปรตีน (AFP) สูงผิดปกติ
   - ตรวจพบก้อนที่ตับจากอุลตราซาวด์ (US), เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือ คลื่นแม่เหล็ก (MRI)

   การรักษา
   การรักษามีหลายวิธีจําเป็นต้องประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้เหมาะสมกับ ผู้ป่วยแต่ละรายเนื่องจากมีปัจจัยที่ต้องคํานึงถึงมากมาย
   การรักษาที่มีหลักฐานทางการแพทย์รับรอง ได้แก่
   - การผ่าตัดตัดตับบางส่วน (Hepatectomy), การผ่าตัดเปลี่ยนตับ (Liver transplantation), การจี้ทําลายมะเร็งตับ (ablative therapy) ได้แก่ การใช้คลื่นเสียง (REA), การใช้แอลกอฮอล์ (PEI) เป็นต้น
   - การฉีดยาเคมีร่วมกับการอุดเส้นเลือดแดงที่เข้าไปเลี้ยงมะเร็งตับ (TACE)

   การป้องกัน
   - หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะตับแข็งและมะเร็งเซลล์ตับ
   - ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี และผู้ป่วยภาวะตับแข็ง ควรเข้ารับการ ตรวจเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งเซลล์ตับเป็นประจํา
   - เมื่อมีอาการที่เข้าได้กับภาวะตับแข็ง ควรรีบพบแพทย์

มะเร็งท่อน้ําดีในตับ (Cholangio carcinoma)

   ปัจจัยเสี่ยง

   - การรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เช่น ก้อยปลา ฯลฯ เนื่องจากมีพยาธิใบไม้

   ปัจจัยเสี่ยงสําคัญ
   - โรคที่มีการคั่งของน้ําดีเรื้อรัง เช่น โรคท่อน้ําดีโป่งพองแต่กําเนิด

   อาการ และ อาการแสดง
   - จุกแน่นลิ้นปี่ หรือชายโครง เบื่ออาหาร น้ําหนักลด
   - ตาเหลือง คันตามตัว อุจจาระสีซีด ปัสสาวะเข้ม จากท่อน้ําดีอุดตัน

   การวินิจฉัย
   - ตรวจและวินิจฉัยแบบเดียวกับมะเร็งเซลล์ตับ แต่จะมีลักษณะภาพรังสี วินิจฉัยที่ต่างกัน

   การรักษา
   - การรักษาที่หายขาดมีวิธีเดียว คือ ค่าตัดตัดตับออกบางส่วน
   - ในกรณีที่ผ่าตัดตับไม่ได้อาจให้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการดีซ่าน เช่น ใส่ท่อ ระบายน้ําดี หรือเจาะระบายน้ําดีออกทางหน้าท้อง

   การป้องกัน
   - หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ
   - ผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของพยาธิใบไม้ในตับ เช่น ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ควรตรวจอุจจาระหาการติดเชื้อและรักษาด้วยยาฆ่าพยาธิ



รศ.ดร.นพ.ยงยุทธ ศิริวัฒนอักษร
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

สถานวิทยามะเร็งศิริราช

อาคารเฉลิมพระเกียรติชั้น 13 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700