มะเร็งปอด


ความสําคัญ
   มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกของผู้ป่วยมะเร็งในผู้ชาย และอันดับที่สองในผู้หญิง สาเหตุที่แท้จริงที่ทําให้เป็นมะเร็งปอดยังไม่เป็นที่ ทราบแน่ชัด

ปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญ
   การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบมากที่สุดขึ้นอยู่กับจํานวน และระยะเวลาที่สูบ ถ้าสูบเป็นจํานวนมากอยู่เป็นเวลานานความเสี่ยงของการเกิด โรคจะมากขึ้นเป็นลําดับ ถ้าไม่หยุดสูบบุหรี่สุดท้ายจะเกิดมะเร็งปอดในที่สุด มะเร็ง ปอดมักพบในคนสูงอายุ อุบัติการณ์ของโรคนี้จะมากขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี อาชีพ และมลภาวะทางอากาศเป็นผลให้มีการสัมผัสสารเคมีบางชนิดในระบบทางเดิน หายใจเช่น สารกัมมันตภาพรังสี ถ่านหิน น้ํามันปิโตเลียม สารหนู นิเกิล เป็นต้น
   ในเมืองหลวงมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงรถยนต์โดยเฉพาะน้ํามันดีเซลพบว่ามี อุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งปอดมากขึ้น (สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยมะเร็งปอด จะมีอุบัติการณ์การเกิดโรคนี้มากกว่าประชากรโดยทั่วไปมาก เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับทาง พันธุกรรม)

อาการที่สําคัญ
   มะเร็งปอดทําให้เกิดการระคายเคืองต่อหลอดลมทําให้อาการ ไอหายใจขัด มีเสียงดังในลําคอ ไอเป็นเลือด และเจ็บหน้าอก ส่วนอาการหอบเหนื่อย เกิดจากมะเร็งทําลายเนื้อปอดหรือเกิดจากภาวะน้ําที่จมปอดได้ (บางรายอาจมีอาการ บวมบริเวณแขน คอ และใบหน้าจากการลุกลามของมะเร็งไปยังหลอดเลือดดําใหญ่ ของทรวงอก หากมะเร็งปอดลุกลามไปยังเส้นประสาทจะทําให้มีอาการเสียงแหบ หรือปวดบริเวณต้นคอร้าวไปยังแขน นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆอีกมากมายขึ้นอยู่กับ มะเร็งปอดมีการลุกลามไปยังอวัยวะได้

ความรู้ที่สําคัญ
   ควรมีการรณรงค์งดการสูบบุหรี่ในแต่ละสาขาวิชาชีพ ควรมีการถ่ายภาพรังสีทรวงอกประจําทุกปี และควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการของระบบ ทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง

การรักษา
   มะเร็งปอดจะได้ผลดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ชนิดของมะเร็งปอด ระยะของโรคมะเร็ง และสภาพร่างกายโดยทั่วไปของผู้ป่วย

ชนิดของมะเร็งปอด
   มะเร็งปอดมี 2 ชนิด ชนิดแรกเป็น มะเร็งปอดพบเป็น ก้อนเนื้องอกของมะเร็ง มีการดําเนินโรคแบ่งเป็น 4 ระยะ เพื่อประโยชน์ในการรักษา ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งยังไม่กระจาย ระยะที่ 2 มีการกระจายของมะเร็งมายังต่อมน้ํา เหลืองบริเวณขั้วปอด ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงได้แก่ กระดูกซี่โครง กระบังลม และเยื่อหุ้มปอด และระยะที่ 4 มะเร็งกระจายออกนอกเนื้อปอดหรือลุก ลามไปยังอวัยวะสําคัญอื่นของร่างกาย นอกจากนี้มะเร็งปอดยังมีอีกชนิดหนึ่งคือ เซลล์มะเร็งตัวเล็ก ซึ่งมะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรงของโรคมาก โรคมักจะลุกลามและ กระจายออกนอกเนื้อปอดได้อย่างรวดเร็ว มะเร็งชนิดนี้ส่วนใหญ่รักษาด้วยเคมีบําบัด ไม่สามารถรักษาโดยการผ่าตัดเนื่องจากโรคมีการลุกลามค่อนข้างมากเมื่อเริ่มตรวจพบ

วิธีการรักษา
   มะเร็งปอดมีการรักษาได้ 3 วิธีได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสี และการให้ยาเคมีบําบัด โรคในระยะที่ 1 และ 2 การผ่าตัดเป็นวิธีที่ให้ผลดีที่สุดโรค ในระยะที่ 3 การผ่าตัดอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องใช้รังสีรักษาและยาเคมีบําบัดร่วมด้วย ส่วนโรคในระยะที่ 4 การรักษาส่วนใหญ่เป็นการบรรเทาอาการไม่ให้ผู้ป่วยทนทุกข์ทรมาน การฉายแสงส่วนใหญ่ทําเพื่อลดอาการเจ็บปวด และทําลายมะเร็งที่มีการกระจายไป สมอง การให้ยาเคมีบําบัดอาจทําให้ก้อนมะเร็งในผู้ป่วยบางรายยุบขนาดเล็กลง ซึ่ง อาจช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนนานมากขึ้น

ความรู้ที่สําคัญ
   การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดในระยะแรกมีความสําคัญต่อผล การรักษา หากผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดมะเร็งออกหมดเป็นผลสําเร็จ จะทําให้ผู้ป่วย มีอายุยืนนานมากขึ้น และมีโอกาสหายขาดได้



ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ธีรวิทย์ พันธุ์ชัยเพชร
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

สถานวิทยามะเร็งศิริราช

อาคารเฉลิมพระเกียรติชั้น 13 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700