มะเร็งตับอ่อน


ความสําคัญ
   มะเร็งตับอ่อนเป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยนัก ไม่จัดอยู่ในโรคมะเร็ง ที่พบบ่อย 10 อันดับแรก แต่เป็นมะเร็งที่มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคสูงเป็นอันดับ 4 ของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั้งหมดในระยแรกผู้ป่วยส่วนมากไม่มีอาการ หรือมี อาการที่ไม่จําเพาะทําให้วินิจฉัยได้ช้า ผู้ป่วยส่วนมากได้รับการวินิจฉัยในระยะที่โรค ลุกลามไปแล้ว ทําให้ไม่สามารถผ่าตัดได้ ผลการรักษาในปัจจุบันยังไม่ดีนัก ทําให้ ผู้ป่วยส่วนมากเสียชีวิตจากตัวโรคเอง

สาเหตุ
   โรคมะเร็งตับอ่อนยังไม่ทราบชัดเจน แต่พบปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยง ได้แก่
   1. อายุที่สูงขึ้นก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้นโดยทั่วไปมักพบในผู้ป่วย อายุ ตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
   2. การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลายชนิดรวมทั้งมะเร็งตับ อ่อนด้วย
   3. โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
   4. พันธุกรรมบางชนิดที่ส่งผลให้มีเนื้องอก และ/หรือมะเร็ง

อาการและอาการแสดง
   ผู้โรคมะเร็งตับอ่อน ไม่มีอาการและอาการแสดง เฉพาะ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการเมื่อเริ่มเป็นโรค อาการมักเกิดหลังโรคลุกลามแล้ว โดยอาการที่พบได้แก่ อาการปวดท้องใต้ลิ้นปี่ ซึ่งมักปวดไม่รุนแรงในระยะแรก อาจมี อาการปวดหลังร่วมด้วย ถ้าเป็นมะเร็งที่ส่วนหัวของตับอ่อน ผู้ป่วยอาจมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง (โรคดีซ่าน) จากการที่ก้อนเนื้อมะเร็งกดเบียดท่อน้ําดี อาการคันตามตัวทั่วๆ ไป ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเบื่ออาหาร น้ําหนักลด ผอมลง โดยไม่มีสาเหตุ

การวินิจฉัย
   โรคมะเร็งตับอ่อนเป็นโรคมะเร็งที่วินิจฉัยได้ยาก เพราะอาการ และอาการแสดงไม่เฉพาะเจาะจง การซักประวัติและการตรวจร่างกายไม่สามารถ ให้การวินิจฉัยได้ ต้องอาศัยการตรวจพิเศษทางรังสีวิทยา โดยในเบื้องต้นอาจใช้อัลตราซาวด์ แต่การตรวจที่จําเป็นต้องใช้ในการวินิจฉัย (และใช้ในการวางแผนการ รักษา) คือการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) และ/หรือการตรวจด้วย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) นอกจากนี้อาจมีการเจาะเลือดหา

การรักษา
    การผ่าตัดเป็นการรักษาที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด แต่ผู้ป่วยส่วนมาก มาพบแพทย์ในระยะที่โรคลุกลามไปมากแล้ว ทําให้ไม่สามารถให้การรักษาด้วยการ ผ่าตัดได้ มีเพียง 15-20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยเท่านั้นที่สามารถผ่าตัดได้ ในกรณีที่โรค ลุกลามไปแล้วอาจพิจารณารักษาด้วยการให้เคมีบําบัดร่วมกับรังสีรักษาในบางราย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการดีซ่านอาจให้การรักษาด้วยการส่องกล้องเพื่อขยายท่อน้ําดี และใส่ท่อระบายน้ําดี ซึ่งจะทําให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผลการรักษา
   ผลการรักษาโรคมะเร็งตับอ่อนยังไม่ดีนัก ในกรณีที่ไม่สามารถ ผ่าตัดได้ ผู้ป่วยส่วนมากมักเสียชีวิตใน 4-6 เดือน ในกรณีที่ผ่าตัดได้ก็ยังมีโอกาสกลับ เป็นใหม่ของโรคได้ อัตราการอยู่รอดที่ 5 ปีประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์

ความเชื่อผิดๆ
   ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยการเจาะเลือดหาสาร บ่งชี้มะเร็งได้แก่ CEA และ CA19-9 การตรวจนี้ไม่แนะนําสําหรับบุคคลทั่วไป เนื่องจากมะเร็งตับอ่อนพบได้น้อย นอกจากนี้การตรวจ CEA และ CA19-9 เป็นการ ตรวจที่ไม่ไวพอ ผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งระยะท้ายโดยที่ผลเลือดปกติก็ได้ ในทางตรงกัน ข้ามอาจมี CEA และ CA19-9 สูงกว่าปกติโดยที่ไม่เป็นมะเร็งก็ได้ ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ ต้องได้รับการตรวจอีกมากมายจนกว่าจะสามารถบอกได้ว่าไม่เป็นมะเร็ง ทําให้เสียเงิน เสียเวลา และได้รับความเสี่ยงจากการตรวจ และที่สําคัญที่สุดทําให้ต้องวิตกกังวล อย่างมากโดยไม่จําเป็น



ผศ.นพ.สมชัย ลิ้มศรีจำเริญ
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

สถานวิทยามะเร็งศิริราช

อาคารเฉลิมพระเกียรติชั้น 13 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700